การขออนุญาตใช้คุกกี้

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

สพป.สตูล ประชุมผู้บริหารระดับเขต เพื่อเตรียมรับมือการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต “ระดับเขตพื้นที่การศึกษา”

 19 เมษายน 2564 (10.00 น.) ณ ห้องประชุม สพป.สตูล ชั้น 3 นายประหยัด สุขขี ผอ.สพป.สตูล ประชุมผู้บริหารระดับเขตเพื่อเตรียมรับมือการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต “ระดับเขตพื้นที่การศึกษา” เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการที่สอดรับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บูรณาการร่วม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สอดรับดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ปี 64 เพื่อสร้างความเข้าใจ และขยับสู่ความมีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานฯ ปี 64


วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

สพฐ. แจ้งชะลอการดำเนินการสรรหาบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2564




 

ประชาสัมพันธ์โครงการ"วิ่งสงาด ประถมตราด..ฮิ"

                 ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ได้จัดทำโครงการ "วิ่งสงาด ประถมตราด...ฮิ"

เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด รักการออกกำลังกายและนำเงินรายได้ มอบให้โรงเรียนและนักเรียนในสังกัด ไปจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ตลอดจนนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวม โดยกำหนดจัดงานในวันที่

2 พฤษภาคม 2564 เวลา 04.00 น. เป็นต้นไป ณ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

การรับสมัครนักศึกษาใหม่เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและปริญญาโท

                             ด้วย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาเอกและปริญญาโทร ภาคสมทบ ประจำภาคการศึกษาที่1 ปีการศึกษา2564 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง           วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ผ่านทางเว็บไซต์https://reg.rmutp.ac.th/registrar/home.asp โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต ด้านบริหารธุรกิจ.

การจัดงาน"วันนักประดิษฐ์"ประจำปี ๒๕๖๔

         สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กำหนดจัดงาน"วันนักประดิษฐ์"ประจำปี 2564 ขึ้น ระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคม 2564 ณ.Event Hall 99-101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ 

           สามารถดูรายละเอียดหรือดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://inventorday.nrct.go.th/

แผนการแสดงนาฏศิลป์ และดนตรี ประจำปี ๒๕๖๔

            ด้วยกรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต กำหนดจัดการแสดงนาฏศิลป์ และดนตรี ประจำปี2564 

ณ.โรงละครแห่งชาติ และโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

            กรมศิลปากร พิจรณาแล้วเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงศิลป์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกของชาติ ดังนั้น กรมศิลปากรขอเสนอบัตรเข้าชมการแสดงนาฏศิลป์ และดนตรี"ในราคานักเรียน/นักศึกษา"(สวมเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษาในวันที่เข้าชมการแสดง) สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หากประสงค์เข้าชมการแสดงสามารถซื้อบัตรชมการแสดงได้ที่ เว็บไซด์ https://ntt.finearts.go.th/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 022241342 และ 022210171 (ในวันและเวลาราชการ) และสามารถติดตามข่าวสารการจัดการแสดงนาฏศิลป์ และดนตรี ของสำนักการสังคีต ได้ทางเพจเฟสบุ๊ค : สำนักการคีต กรมศิลปากร .

สพฐ. ประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ขับเคลื่อนระบบการศึกษาแบบบูรณาการ


 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) ว่า วันนี้คณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้เข้ามาหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำโดยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พบว่ามีความคิดเห็นที่ตรงกันในหลายเรื่อง โดยมีภารกิจหลักที่ต้องทำร่วมกันใน 5 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาครู เรื่องที่เกี่ยวกับการอุดมศึกษา วิจัยและธรรมาภิบาล เรื่องกองทุนเพื่อความเสมอภาค และเรื่องของอาชีวศึกษา ซึ่งเกือบทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่มีคนทำอยู่แล้ว แต่เราได้มารวบรวมถักทอให้เป็นงานที่ทำร่วมกัน เพื่อระบุไว้เป็นแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนปี 2565 โดยเฉพาะใน 3 เรื่องใหญ่ที่ เลขาธิการ กพฐ. ได้พูดไว้ ในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา รวมถึงเรื่องของหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญสำหรับการศึกษาของประเทศไทย และยังมีเรื่องของจำนวนคนไทยในอนาคตข้างหน้า ที่ต้องมีการจำลองสถานการณ์ว่าจะมีจำนวนครูและนักเรียนเท่าใด ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการผลิตครูในอนาคต


ดร.วรากรณ์ กล่าวต่อไปว่า จากการพูดคุยหารือกันทำให้เข้าใจตรงกันมากขึ้น ทางคณะกรรมการปฏิรูปฯเองก็พร้อมจะเป็นคนกลางในการจัดสัมมนาให้คนที่มีความสนใจเข้ามารับฟังในเรื่องการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่ได้ทำร่วมกับ สพฐ. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการไปหารือกับเลขาธิการสภาการศึกษาและเลขาธิการอาชีวศึกษาแล้ว ด้วยความตั้งใจที่จะทำให้แผนปฏิรูปการศึกษาเป็นแผนของประชาชน เป็นแผนที่ร่วมมือกันด้านระบบการศึกษา ไม่ใช่แผนของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องเป็นแผนที่มาจากความเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งจะดำเนินการทำแผนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ

“ทั้งนี้ จะมีการรายงานความก้าวหน้าต่อสภาผู้แทนราษฎรทุกๆ 3 เดือน โดยเรามีแผนการอยู่แล้วว่าจะต้องทำแผนอะไรบ้าง ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่เราต้องผลักดันคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเราสนับสนุนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และรอให้ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อจะเข้าสู่สภาฯ เป็นอย่างแรก นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับอื่น ที่ต้องมีการขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้า เราพร้อมที่จะจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อสนับสนุน พ.ร.บ. เหล่านี้ให้เดินไปข้างหน้าโดยเร็วที่สุด และยังมีโครงการย่อยอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนปี 2565 ทั้งเรื่องของอาชีวศึกษา เรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย และเรื่องของงานวิจัย ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังดำเนินการอยู่อย่างเข้มข้นเช่นกัน” ประธานกรรมการปฏิรูปฯ กล่าว


สพฐ. ประชุมทางไกลชี้แจงแนวทางประชาสัมพันธ์ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวทั้งองค์กร


 วันที่ 8 เมษายน 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom Meeting ร่วมกับนักประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อมอบนโยบายและกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้มีความเข้าใจตรงกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีนายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมมอบหลักคิดและแนวทางการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และนายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ร่วมให้ข้อมูลช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. เครือข่ายการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และช่องทางวิธีการรับ-ส่งข้อมูลเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. โดยถ่ายทอดสด ณ ห้องปฏิบัติการ OBEC Channel อาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า งานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่เป็นหัวใจสำคัญของ สพฐ. อย่างยิ่งอีกงานหนึ่ง สิ่งที่อยากให้ทุกคนได้ช่วยกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ ก็คือการเอางานที่ดีหรืองานที่ประสบความสำเร็จ ทั้งจากนักเรียน คุณครู โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่ออกมานำเสนอ ซึ่งปกติเรามักจะเน้นไปที่ประเด็นใหญ่ๆ เป็นหลัก แต่จากนี้ขอให้เพิ่มเติมในส่วนประเด็นเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จด้วย ยกตัวอย่างกรณีที่มีโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบประกาศนียบัตรทำความดีให้เด็กนักเรียนที่จับปูนาเก่ง จะเห็นได้ว่าประเด็นเล็กๆ เหล่านี้เมื่อหยิบขึ้นมานำเสนอเป็นข่าว จะเป็นการสะท้อนให้คนทั่วไปเห็นว่าการที่เด็กทำความดี ไม่จำเป็นต้องเป็นความสำเร็จในเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น แต่การทำความดีไม่ว่าจะทำด้วยจิตใจ ด้วยวาจา หรือด้วยการกระทำ ต่างก็เป็นสิ่งที่ดีงาม สามารถนำมายกย่องได้ทั้งหมด ดังนั้นสำหรับนักประชาสัมพันธ์ในระดับเขตพื้นที่ ขอให้ทุกคนได้นำกรอบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ทั้ง 12 ข้อ และวาระเร่งด่วนใน 7 ประเด็น รวมถึงนโยบายของเลขาธิการ กพฐ. ใน 4 ด้าน นำมาเป็นกรอบในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์

“ในวันนี้เรามีของดีอยู่มากมายทั่วประเทศ แต่เราต้องนำสิ่งดีๆ ทั้งหลายเหล่านั้นขึ้นมาให้สาธารณชนได้รับรู้และรับทราบ ซึ่งหากเราร่วมมือกันอย่างแท้จริง ทั้ง 245 เขตพื้นที่ ในแต่ละเขตหยิบเรื่องดีๆ ขึ้นมาเผยแพร่วันละ 1 เรื่อง ในแต่ละวันก็จะมีเรื่องดีๆ ที่สาธารณชนรับรู้ถึง 245 เรื่อง แล้วใน 1 สัปดาห์ 1 เดือน หรือ 1 ปีก็จะยิ่งทบทวีคูณเข้าไปอีก เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่มีความท้าทายกับนักประชาสัมพันธ์ทุกคน ตนขอเป็นกำลังใจให้นักประชาสัมพันธ์ทุกคนอีกครั้งครับ” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว


วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564

สมาคมสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยมอบทุนการศึกษาให้นักเรียน สพป.สตูล รัมรอมฎอน ฮ.ศ.1442


 วันที่ 6 เมษายน 2564 สมาคมสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สพป.สตูล จัดพิธีมอบทุนการศึกษา เพื่อเด็กกำพร้าและผู้ยากไร้ ให้แก่นักเรียนสังกัด สพป.สตูล รวม 100 ทุน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนสตูล ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมีนายชาติชาย ไชยพิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานการมอบทุน

นางศรีวรรณ สายฟ้า นายกสมาคมไทยมุสลิมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศล โดยได้มอบทุนการศึกษาเป็นประจำทุกปี ให้กับเด็กกำพร้า ยากจน และด้อยโอกาส ซึ่งเป็นเงินบริจาคทาน ซะกาตจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเป็นกองทุนซะกาตที่นำมาเป็นทุนการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา โดยพิจารณาจากผู้ที่ขาดพ่อ หรือแม่ มาจากครอบครัวที่ยากจน การมอบทุนครั้งนี้มอบให้นักเรียนทุนละ 2,000 บาท ค่าเดินทางคนละ 300 บาท และเลี้ยงอาหารเที่ยงหลังจากเสร็จการมอบทุน

ขณะที่นายชยพงศ์ สายฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ซึ่งได้ประสานงานการมอบทุนการศึกษากับสพป.สตูล เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบทุนด้วย

ขอขอบคุณสมาคมสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยและท่านชยพงศ์ สายฟ้า ที่กรุณาจัดมอบสิ่งที่ดีให้กับนักเรียนส่วนหนึ่งของจังหวัดสตูล ได้มีขวัญกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนให้มีอนาคตที่ดีต่อไป

ภาพ /ข่าว : ประชาสัมพันธ์ สพป.สตูล







วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564

สพฐ. ตรวจเยี่ยมการจับสลากนักเรียนชั้นอนุบาล 1 รร.อนุบาลสามเสน


 วันที่ 4 เมษายน 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยนายยุทธนา สำราญกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร พันตำรวจเอกบุญส่ง จันทรีศรี ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาฯ และคณะทำงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ด้วยวิธีการจับสลากนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน กรุงเทพฯ เพื่อติดตามและเยี่ยมชมกระบวนการรับนักเรียนด้วยวิธีการจับสลาก ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 พร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมของโรงเรียนในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564

.
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมการรับนักเรียนด้วยวิธีการจับสลากที่โรงเรียนอนุบาลสามเสนในวันนี้ พบว่าสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นที่น่าพึงพอใจ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การคัดกรอง มีการวัดอุณหภูมิ มีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ รวมถึงการจัดห้องจับสลากก็มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเชื่อว่าโรงเรียนอื่นๆ ที่จับสลากในวันนี้ก็จะดำเนินการอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
.
สำหรับภาพรวมของการรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในโรงเรียนสังกัด สพป.กทม. มีโรงเรียนที่มีการจับสลากจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) 2. โรงเรียนพญาไท 3. โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 4. โรงเรียนวัดอมรินทราราม โดยโรงเรียนอนุบาลสามเสน มีแผนการรับนักเรียน 90 คน (3 ห้องเรียน) มีนักเรียนมาสมัคร 276 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:3.07 / โรงเรียนพญาไท มีแผนการรับนักเรียน 120 คน (4 ห้องเรียน) มีนักเรียนมาสมัคร 142 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:1.18 / โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ มีแผนการรับนักเรียน 60 คน (2 ห้องเรียน) มีนักเรียนมาสมัคร 77 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:1.28 / และโรงเรียนวัดอมรินทราราม มีแผนการรับนักเรียน 90 คน (3 ห้องเรียน) มีนักเรียนมาสมัคร 95 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:1.06
.
นายอัมพร กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของนักเรียนและผู้ปกครองที่จับสลากไม่ได้ก็ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนได้มีที่เรียน ซึ่งทุกโรงเรียนต่างพร้อมที่จะรับและจัดที่เรียนให้นักเรียนได้เรียนครบทุกคน หากแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่และจำนวนห้องที่สามารถจะรับได้ โดยเราเชื่อว่าโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ ต่างก็มีมาตรฐานไม่แตกต่างกันมากนัก ขอให้ผู้ปกครองและบุตรหลานมีความมั่นใจในส่วนนี้
.
"แต่ทั้งนี้คุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อยู่ที่ผู้ปกครองและตัวนักเรียนด้วยว่ามีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนการศึกษาร่วมกันมากแค่ไหน ตนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน สำหรับผู้ที่ยังจับสลากไม่ได้ ขอให้ไปสมัครในโรงเรียนที่เราได้มีคำแนะนำให้ หรือยื่นความจำนงเพื่อให้จัดสรรที่เรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อหาโรงเรียนสำหรับเข้าศึกษาต่อไป" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว




วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

สพฐ. ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 


วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 08.15 น. นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ และว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยนายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ และบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 66 พรรษา ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

รองเลขาธิการ กพฐ. ประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564


 วันที่ 1 เมษายน 2564 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 1 - 2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอก ชฎา

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินโครงการคอนเน็กซ์อีดี ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่เดิมชื่อโครงการโรงเรียนประชารัฐ “โครงการคอนเน็กซ์อีดี” ประกอบด้วย 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) โรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 - 3 2) กลุ่มโรงเรียนในอุปถัมภ์ของภาคเอกชน รุ่น 1 – 2 และ 3) กลุ่มโรงเรียนกองทุนการศึกษา รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,567 โรงเรียน

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ สพฐ. ได้กำหนดกิจกรรมสำคัญหลักที่จะดำเนินการ คือ 1) กิจกรรมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) กิจกรรมการพัฒนากรอบการบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ตามศักยภาพของผู้เรียน 3) กิจกรรมการยกระดับคุณภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนประชารัฐตามบริบทของโรงเรียน และ 4) กิจกรรมการพัฒนางานวิจัยและการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน และเพื่อขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น ประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือ 1) คณะกรรมการอำนวยการ 2) คณะกรรมการกลั่นกรองแผนพัฒนาโรงเรียน 3) คณะกรรมการด้านกรอบงานวิจัยของโครงการคอนเน็กซ์อีดี 4) คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

สำหรับ การประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการ เพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน วางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จัดทำกรอบการปฏิบัติงานคณะทำงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรองแผนพัฒนาโรงเรียน คณะกรรมการด้านกรอบงานวิจัยของโครงการคอนเน็กซ์อีดี และคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะทำงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 86 คน

“การศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับประเทศเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคนทุกคนการที่จะได้บุคคลที่ตรงความต้องการของภาคเอกชน รัฐต้องรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่ตรงกับความต้องการ การที่เอกชนมีส่วนร่วมในโครงการนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ที่สละเวลา เพื่อมาช่วยกันพัฒนาทรัพยากรที่ที่ค่าของชาติ” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว



วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมประชุมพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” สู่สถานศึกษา

 

วันที่ 1 เมษายน 2564 นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” สู่สถานศึกษา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนโครงการในด้านมิติวิชาการ ได้แก่ แนวทางการจัดแผนการเรียนรู้ (ห้องเรียนพิเศษ) แนวทางการจัดรายวิชาการเพิ่มเติม และแนวทางการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แนวพระราชดำริ และขยายผลสู่สถานศึกษาทั่วประเทศ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร


สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                    ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุ...