วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สพฐ. ประชุมประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566



นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566 ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไชด์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วยคณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประกอบด้วย ที่ปรึกษา สพฐ. ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเป็นคณะกรรมการการคัดเลือก และคณะทำงานส่วนกลาง รวมทั้งสิ้น จำนวน 53 คน เข้าร่วมการประชุม

.

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการจัดการประชุมประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566 เพื่อดำเนินการประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ได้สืบสานพระราชปณิธาน ให้เป็นไปตามแนวทางพระราชดำริ โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 เขต ที่เข้าร่วมการประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566 ในแต่ละด้าน ประกอบด้วย

.

1. การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง จำนวน 194 ผลงาน แบ่งผลงานตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 58 ผลงาน ขนาดกลาง จำนวน 90 ผลงาน และขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษ จำนวน 46 ผลงาน

2. การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม จำนวน 280 ผลงาน แบ่งผลงานตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 89 ผลงาน ขนาดกลาง จำนวน 125 ผลงาน และขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษ จำนวน 66 ผลงาน

3. การมีงานทำ - มีอาชีพ จำนวน 263 ผลงาน แบ่งผลงานตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 80 ผลงาน ขนาดกลาง จำนวน 131 ผลงาน และขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษ จำนวน 52 ผลงาน

4. การเป็นพลเมืองดี จำนวน 221 ผลงาน แบ่งผลงานตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 65 ผลงาน ขนาดกลาง จำนวน 103 ผลงาน และขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษ จำนวน 53 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 958 ผลงาน

.

 


วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ศูนย์สอบ TOEFL ITP คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับสมัครสอบ (Level 1)


 

ภารกิจ รองเลขาธิการ กพฐ. ดร. เกศทิพย์ ศุภวานิช

ภารกิจ รองเลขาธิการ กพฐ.
ดร. เกศทิพย์ ศุภวานิช
วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566
✴️ ภารกิจ
1.ออกอากาศรายการพุธเช้า ข่าว สพฐ. ผ่าน OBEC Channel ทุกช่องทาง
-การขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ มรดกอารยธรรม ลุ่มน้ำปัตตานี ศิวิไลซ์ล้ำค่า ลังกาสุกะ จังหวัดปัตตานี ตอนที่ 2 : เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สร้างคุณค่า เพิ่มมูลค่าชุมชน
-"เก็บดาวที่เกลื่อนดิน ร่วมพาน้องกลับมาเรียน” โรงเรียนบ้านกองม่องทะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
2.ประชุมผู้บริหารระดับสูง ของ สพฐ. ครั้งที่ 11/2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting
3.ติดตามการดำเนินงานตามการลงนามความร่วมมือ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน กปร. มูลนิธิชัยพัฒนา สพฐ. และบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)ในกิจกรรมการขับเคลื่อนและการนำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริสู่เยาวชน ไปใช้ในการบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ณ โรงเรียนวัดกระทุ่ม(โสมประชาสรรค์) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1
4.เข้ากราบเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยมี ผอ.โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สนับสนุนทุกๆกิจกรรมจากทางวัด ร่วมด้วย
5.เข้ากราบเจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม โดยมี ผอ. และครู โรงเรียนวัดสมานรัตนาราม ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สนับสนุนทุกๆกิจกรรม จากทางวัด ร่วมด้วย และเยี่ยมให้กำลังใจโรงเรียนอีกด้วย






สพฐ. ประชุมคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี 2566 ระดับประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 .


นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี 2566 ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 30 มิถุนายน 2566 โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

.
การประชุมฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายหน่วยงานในการตัดสิน การประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ได้แก่ ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 54 คน และคณะทำงานส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 84 คน
.
โดยการคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จาก จำนวน 195 โรงเรียน ในโครงการการพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สังกัด 48 เขตพื้นที่การศึกษา และเป็นตัวแทนของ สพฐ. เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 ในลำดับต่อไป
.
สพฐ. ประชุมคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี 2566 ระดับประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566
.
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี 2566 ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 30 มิถุนายน 2566 โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
.
การประชุมฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายหน่วยงานในการตัดสิน การประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ได้แก่ ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 54 คน และคณะทำงานส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 84 คน
.
โดยการคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จาก จำนวน 195 โรงเรียน ในโครงการการพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สังกัด 48 เขตพื้นที่การศึกษา และเป็นตัวแทนของ สพฐ. เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 ในลำดับต่อไป
.

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

สพฐ. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 .

 



 นายอนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหารได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 29 – 31 มีนาคม 2566 โดยมี นางสาวลิลิน ทรงผาสุก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสำนักส่วนกลางที่รับผิดชอบตัวชี้วัด ข้าราชการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. ส่วนกลาง) เข้าร่วม ณ โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว กรุงเทพมหานคร และผ่านช่องทางสื่อดิจิทัล (Zoom Meeting, OBEC Channel)

.

รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจึงต้องมีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่สอดรับกับนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด

.

ทั้งนี้ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบในการพัฒนาระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นมาตรฐาน ให้สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และมติคณะรัฐมนตรี 20 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยมีกรอบการประเมินใน องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) และการประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) โดยประเมินปีละ ครั้ง

.

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้กำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งใช้กรอบแนวทางการประเมินระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) เป็นการประเมินหลัก และได้มีข้อสั่งการให้ทุกสำนักที่เกี่ยวข้อง บูรณาการตัวชี้วัดในการประเมินองค์รวมร่วมกัน เพื่อลดภาระครูและลดภาระการรายงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เหลือน้อยที่สุด

.

สพฐ. โดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ความสอดคล้องเชื่อมโยงตามนโยบายและจุดเน้นระดับ กระทรวงศึกษาธิการ และระดับ สพฐ. แผนปฏิบัติราชการฯ ของ สพฐ. ตลอดจนกรอบแนวทางตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราชการที่รองรับการเป็นระบบราชการ 4.0 และได้กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ครอบคลุมการบริหารงานด้านแผนงาน การเงินการบัญชีการตรวจสอบภายใน และการพัฒนาองค์การ สามารถใช้ตอบการประเมินระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) หมวด ผลลัพธ์การดำเนินการ ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญในการประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายและบูรณาการการปฏิบัติงานของ สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมทางการพัฒนาองค์กรเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ราชการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ เพื่อพลิกโฉมให้สามารถเป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริงต่อไป

 


วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

รองเลขาธิการ กพฐ. “พัฒนะ” เปิดโครงการพัฒนาการมีวินัย การรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา สพม.นครสวรรค์

.


วันที่ 10 มีนาคม 2566 ดร.พัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนาการมีวินัย การรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม โรงแรมไดอาน่า การ์เด้น รีสอร์ท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

.

ดร.พัฒนะ กล่าวว่า นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้เข้ารับ การอบรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย การดำเนินงานทางวินัย และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน ซึ่งสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด อันจะเป็นการลดข้อคลางแคลงสงสัย จึงไม่ก่อให้เกิดปริมาณคดีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการ จึงนับได้ว่าเป็นโครงกาที่ดีที่ควรส่งเสริมสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

.

ผมขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ และคณะที่ได้ดำเนินการให้มีโครงการในครั้งนี้ ขอขอบคุณคณะวิทยากรทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ และขอขอบคุณผู้เข้ารับการพัฒนา ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะมาเพิ่มเติมความรู้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะได้นำความรู้ ที่ได้จากท่านวิทยากรไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์ต่อราชการและประเทศชาติต่อไป” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

.

ทั้งนี้ การจัดอบรมโครงการนี้ ได้จัดทำขึ้นตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ เพื่อสนองยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคงตามแผนแม่บทฯ ประเด็น กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป้าหมาย เพื่อการอำนวยความยุติธรมให้เป็นไปโดยเสมอภาค โปร่งใส สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติราชการในงานทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้มีความถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนที่กำหนด อันจะเป็นการลดปริมาณคดีที่เกิดขึ้นใหม่ ให้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ และบุคลากรเจ้าหน้าที่ จำนวนทั้งสิ้น 125 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายสมสกุล ณ บางช้าง รองอธิบดีศาลปกครองระยอง และทีมจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ ในเรื่องดังกล่าว

 


สพฐ. ประชุมประกวดคัดเลือกโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมประกวดคัดเลือกโรงเ...