การขออนุญาตใช้คุกกี้

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.จับมือ กสศ.ตั้งเป้าพัฒนาโรงเรียนชนบท นำร่อง 288 โรงเรียนใน 35 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค ให้ทัดเทียมเมือง หลังพบความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันเกือบ 2 ปีการศึกษา

วันที่ (29 ต.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมเรื่อง "ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ" และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teachers & School Quality Program : TSQP) โดยมีผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมกว่า 1,000 คน


อัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ.และกสศ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาขนาดกลางสังกัด สพฐ. ในชนบทที่มีเด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาสอยู่หนาแน่น ให้เป็นโรงเรียนที่สามารถพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ หรือ Whole School Approach ทั้งด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ขณะที่นักเรียนยากจนด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างเต็มศักยภาพ โดยครูจะมีความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
ที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันเกือบ 2 ปีการศึกษา
อัมพรยังระบุอีกว่า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา รวมถึงคุณภาพและประสิทธิภาพครู ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง


ด้าน นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) กล่าวว่า หัวใจสำคัญของโครงการนี้ต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารและครูผู้สอน มีความเชื่อว่าเราสามารถพัฒนาตนเองและโรงเรียนได้ แม้จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่ใช่โรงเรียนขนาดใหญ่ก็สามารถพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอกหรือต้องรอนโยบาย
การทำงานในปีแรกจะมีโรงเรียนขนาดกลางที่ผู้บริหาร และครูผู้สอนสมัครใจและตั้งใจเข้าร่วมจำนวน 288 แห่งในพื้นที่ 35 จังหวัดทุกภูมิภาค ครอบคลุมครูกว่า 5,700 คน
การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน เน้นกระบวนการสร้างให้นักเรียนเป็นคนรุ่นใหม่ทันต่อโลกศตวรรษที่ 21 โดยการทำงานจะไม่หยุดอยู่แค่ห้องเรียนห้องเดียว แต่ต้องทำทั้งโรงเรียน เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับองค์กร ด้วยการใช้พลังร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดของนักเรียน


สำหรับ กสศ.จะนำผลการวิจัยและเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของครูและสถานศึกษา จากการทำงานวิชาการร่วมกับองค์การความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) มาสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Active Learning โดยใช้การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนประสิทธิภาพสูง จากสถาบันความคิดสร้างสรรค์แห่งสหราชอาณาจักร (CCE) รวมถึงการใช้เครื่องมือส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณจากองค์การ OECD เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กสศ.ยังสนับสนุนให้โรงเรียนใช้ระบบ Q-Info ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงของเด็กในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนา ตามแนวทางผลการวิจัยเครื่องมือประเมินทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
คาดว่าเมื่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา กสศ.จะสามารถขยายพื้นที่เป้าหมายการทำงานสนับสนุนนโยบายโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลของ สพฐ.ต่อไป แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาฯ


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานอนุกรรมการโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กสศ. กล่าวตอนหนึ่งในการบรรยายพิเศษเรื่อง "ยกระดับคุณภาพโรงเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ : เปลี่ยน ครู-ห้องเรียน" ว่า
การแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแต่เพียงอุดหนุนงบประมาณยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบทให้สูงขึ้นด้วย
จากรายงานของ World Development Report 2018 : Learning to Realize Education’s Promise พบว่าหากจะให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมของประเทศไทยยกระดับขึ้น ครู โรงเรียน พ่อแม่ และผู้นำชุมชน ต้องร่วมมือกันเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เด็กที่ขาดแคลนหรือเด็กที่เรียนอ่อน ไม่ใช่มุ่งเอาใจใส่เฉพาะเด็กเก่งและขยันเรียน ซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 10-20 แต่อีกร้อยละ 80-90 จะถูกทิ้ง
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่าง สพฐ.และ กสศ.ในครั้งนี้จะทำให้เด็กอีกร้อยละ 80-90 ได้รับโอกาสในการพัฒนาและบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้เช่นกัน

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 3 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 7 รางวัล Special Awards ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (IEYI 2019) ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย"






ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2019)  ระหว่างวันที่ 22 - 26 ตุลาคม จังหวัดบันเติน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 9 ทีม รวม 17 คน จากประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งจากการตัดสินของคณะกรรมการ ปรากฏว่า นักเรียนไทยได้รับรางวัลครบทุกทีม แบ่งเป็น เหรียญทอง 3 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล และ Special Awards 7 รางวัล ดังนี้
รางวัลเหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่ ผลงาน “ไฟฉายอเนกประสงค์” โดย เด็กชายกรกฎ วงศ์ชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เด็กชายอชิรวิชญ์ ตามสมัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย
ผลงาน “กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน” โดย เด็กหญิงชนากานต์ อินทเจียด และเด็กหญิงศิรประภา กรายแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี
และผลงาน “วัสดุดูดความชื้นจากไส้ตันมันสำปะหลัง” โดย นางสาวสุภัสสรา หนูบูรณ์ และนางสาวปิยฉัตร เสียมไหม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง จ.พัทลุง
รางวัลเหรียญเงิน 6 รางวัล ได้แก่
ผลงาน “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” โดย นางสาวเธียรธีรา พุ่มพวง และนางสาวรัฎศมล น่วมนวล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จ.พิษณุโลก
ผลงาน “แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน - โฟมยางพาราคอมพาวด์” โดย นางสาวเกวลิน สุขไกว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนางสาวปิ่นศวิตา ทองสลัก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี
ผลงาน “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ” โดย นางสาวเจษธิดา สูงขาว และนางสาวประภัสสร ศรีกอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย
ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดาและ ใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้” โดย นายอภิลักษณ์ ไวกูณฐ์เวศม์ และนายชยุตพงศ์ ชัยมงคล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม
ผลงาน “ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจากใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหาดินร่วนปนทราย” โดย นางสาวอัจฉริยะกร การพิศมัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนจานวิทยาคม จ.กาฬสินธุ์
และผลงาน “ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ” โดย นายธีรภัทร โมราวงศ์ และนางสาวนาดา สมาเอ็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม จ.สมุทรปราการ
นอกจากนั้น ยังมีทีมได้รับรางวัล Special Awards 7 รางวัล ได้แก่ ผลงานกรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน,  ผลงานแผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์,  ผลงานสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา,  ผลงานนวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ,  ผลงานผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดา และใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้,  ผลงานศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจากใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหาดินร่วนปนทราย และผลงานประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2021) หรือในอีก 2 ปีข้างหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. จับมือ ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ และ ทส. ร่วมแถลงข่าวประกวดวาดภาพปลูกจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมให้เยาวชน



วันที่ 24 ตุลาคม 2562  นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย มร. โทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด และ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวเปิดโครงการประกวดวาดภาพโปสเตอร์คำขวัญ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ 2562” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว - วิภาวดีรังสิต เชิญชวนเยาวชนร่วมส่งผลงานรอบคัดเลือก หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมวิกฤติ...ชีวิตยากเข็ญ” ชิงรางวัล “อีซูซุพาน้อง ๆ ท่องญี่ปุ่น” พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และทุนการศึกษามากมาย 
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ของบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด โดยการให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศส่งเสริมนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างทักษะทางศิลปะให้กับเยาวชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย  

กลุ่มตรีเพชร โดย มร.โทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด กล่าวว่า “ตลอดเวลา 26 ปีที่ผ่านมา ของการดำเนินกิจกรรมการประกวดวาดภาพโปสเตอร์พร้อมคำขวัญ โครงการ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์” มุ่งเน้นถึงการปลูกจิตสำนึกอันดีในด้านต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการนำประเด็นที่น่าสนใจมาปรับใช้เป็นหัวข้อการประกวด เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์สำคัญ ทั้งที่เป็นเรื่องภายในประเทศไทย และระดับโลก เพื่อเปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชน อายุไม่เกิน 18 ปี ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองทั้งด้านความคิดและจิตใจ และยังเป็นแนวทางการปฏิบัติตนอันจะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไปในอนาคต ซึ่งในปีนี้อีซูซุได้เลือกใช้หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมวิกฤติ...ชีวิตยากเข็ญ” ในการแข่งขันรอบคัดเลือก จึงขอเชิญชวนน้อง ๆ เยาวชนร่วมแสดงพลังกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมของประเทศผ่านผลงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาและโอกาสไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยรางวัล “อีซูซุพาน้อง ๆ ท่องญี่ปุ่น” ที่จะเติมเต็มและจุดไฟแห่งการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ณ ประเทศญี่ปุ่น และจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปลูกจิตสำนึกที่ดีให้แก่เยาวชน จนกระจายไปสู่การสร้างพลังบวกเพื่อช่วยพลิกฟื้นสิ่งแวดล้อมที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติในขณะนี้ให้เบาบางลงได้ในอนาคต”


เยาวชนที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-966-2127-9 ติดต่อรับใบสมัครได้ที่สถานศึกษาประจำจังหวัดทุกแห่ง โชว์รูมอีซูซุทั่วประเทศ










วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. ถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ





นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 16 เหรียญทอง 12 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ประจำปี 2562 (ITMO 2019) ณ ประเทศอินเดีย"

.
วันที่ 18 ตุลาคม 2562 นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ให้การต้อนรับคณะนักเรียนไทยที่ไปร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2562 International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) รวม 24 คน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีตัวแทนจากโรงเรียนต่างๆ พร้อมสื่อมวลชนร่วมทำข่าวเป็นจำนวนมาก
.
นายอโณทัย เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นของไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2562 International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2562 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย มีนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันระดับประถมศึกษา จำนวน 2 ทีม ทีมละ 4 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่านักเรียนไทยได้รับเหรียญรางวัลทุกคน ได้แก่ 16 เหรียญทอง 12 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง รวมทั้งสิ้น 37 รางวัล 79 เหรียญ ดังนี้
.
ประเภททีม ได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล (24 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 3 รางวัล (12 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม D เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม B เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
เหรียญทองแดง 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม B เด็กชายปัญณพงศ์ กีรติอนันต์พร โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม A นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
.
ประเภทบุคคล ได้รับรางวัลรวม 23 รางวัล (23 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 8 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ / ระดับมัธยมศึกษา นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา / ระดับมัธยมศึกษา เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญทองแดง 7 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ / ระดับมัธยมศึกษา เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา
.
.
ประเภทกลุ่มบุคคล ได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล (24 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 4 รางวัล (16 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม A นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม B เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม D เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ / ทีมประถม B เด็กชายปัญณพงศ์ กีรติอนันต์พร โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ
.
.
ประเภทคะแนนรวมสูงสุด (Overall) ได้รับรางวัลรวม 2 รางวัล (8 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
สำหรับการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 14 ประเทศ คือ ไต้หวัน เนปาล บังกลาเทศ บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รัสเซีย เวียดนาม ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และไทย มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 393 คน











วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รก.เลขาธิการ กพฐ. พร้อม รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดคู คลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


-------------------
นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วย นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดคู คลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธี รวมถึง นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เข้าร่วม ณ วัดธรรมาภิรตาราม (สะพานสูง) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร







วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

1 ใน "นโยบายรัดเข็มขัด" เพื่อนำงบประมาณไปลงที่เด็กและเยาวชน


รก.เลขาธิการ กพฐ. มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและบุคลากร สพฐ.


.
วันที่ 9 ตุลาคม 2562 นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของ สพฐ. ในโอกาสเข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังนโยบาย ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคารสพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
.
ทั้งนี้ นายอำนาจ วิชยานุวัติ ได้กล่าวมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของ สพฐ. ทั้งในเรื่องวาระงานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยทันที อาทิ การรับนักเรียน งบประมาณประจำปี 2563 การจ้างครูธุรการและนักการภารโรง การสอบคัดเลือกรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การสอบคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน การย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เป็นต้น
.
นอกจากนั้น ยังได้เน้นย้ำในเรื่องของคุณภาพ โอกาส และประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมน้อมนำพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด จิตอาสา เน้นคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งการบริหารทรัพยากรที่สามารถนำไปต่อยอดได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กนักเรียนมากที่สุดอย่างยั่งยืน






วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณฯ เปิดแข่งเขียนโปรแกรมคอมพ์ HACKATHON 2019




โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thailand – Japan Game Programming HACKATHON 2019 กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ทั้ง 12 โรงเรียนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 5 – 9 ต.ค.62 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมครู-นักเรียน และเฟ้นหาตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายไพโรจน์ พรมสอน ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู) เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา




นายกิตติชัย กรวยทอง ผอ.โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย กล่าวว่า การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thailand – Japan Game Programming HACKATHON 2019 เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ทั้ง 12 โรงเรียนทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) สถาบัน KOSEN โดยคำว่า HACKATHON เกิดจากการรวมกันของคำว่า เฮกเกอร์ (Hacker) + มาราธอน (Marathon) คือเป็นการเขียนโปรแกรมและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามโจทย์ที่ได้รับ ในเวลาที่กำหนดประมาณ 2 – 3 วัน โดยไม่มีการหยุดพัก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนและครูให้มีทักษะด้านการเขียนโปรแกรมและพัฒนาซอฟต์แวร์ การทำงานเป็นทีม และเป็นการคัดเลือกตัวแทนทีมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในระดับนานาชาติ ที่ ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รมว.ศธ. ร่วมพิธีลงนาม MOU “โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project 100%”



วันที่ 28 กันยายน 2562 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project 100%” พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ผู้แทนองค์กร โดยมี นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู เข้าร่วมในพิธี ณ มหาวิทยาลัยราชฏัภธนบุรี สมุทรปราการ
.
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ. กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และบริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบัน ที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารกับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในเป้าหมายการพัฒนา 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การพัฒนาครู 3) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และ 4) การพัฒนาคุณภาพการบริหาร เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลนำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
.
สำหรับจังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีความเติบโตด้านเศรษฐกิจ เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นก็ให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทุกองค์กรในจังหวัดได้ให้ความสำคัญการศึกษามาโดยตลอด ทั้งองค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกภาคส่วน โดยมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ขอชื่นชมจังหวัดสมุทรปราการที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายนี้ ได้ 100% เป็นจังหวัดแรก ขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในจังหวัดสมุทรปราการทุกท่าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
.
ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เป็นนโยบายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาเต็มตัวและสามารถบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเตรียมความพร้อมผู้เรียนสำหรับอนาคต พร้อมกับพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และชุมชน
.
ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรปราการมีสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 168 แห่ง มีแนวทางการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้ องค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาโรงเรียนให้มีความพร้อมในทุกด้าน ด้านอาคารสถานที่มุ่งเน้นให้มีความเพียงพอสำหรับบริการ ทั้งนักเรียนและชุมชน ด้านการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีทักษะทางวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และมีทักษะชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังมีองค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนกว่า 10,000 แห่ง ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยการประสานงานของอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 3 เขต และผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ทุกโรงเรียน เกิดการมีส่วนร่วมในทุกพื้นที่ ทุกโรงเรียน โดยเป็นจังหวัดแรกที่สามารถขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาได้ครบ 100%
.
ดังนั้น เพื่อเป็นการขอบคุณ ยกย่องเชิดชูเกียรติและให้การดำเนินงานเกิดความยั่งยืน จึงจัดให้มีพิธีมอบโล่และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ จำนวน 656 องค์กร ได้แก่ องค์กรทางศาสนา จำนวน 65 รูป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 41 แห่ง ภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ จำนวน 287 แห่ง บุคคลผู้ให้การสนับสนุน จำนวน 232 คน และหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 31 องค์กร พร้อมทั้งถวายโล่แด่ตัวแทนองค์กรทางศาสนา จำนวน 5 รูป และมอบโล่ให้แก่ตัวแทนองค์กร จำนวน 45 องค์กร โดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)
.
ขณะที่นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการมี 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง ซึ่งทางจังหวัดได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมากกว่า 10,000 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ องค์กรทางศาสนา ก็ได้ให้การสนับสนุนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายมาโดยตลอด ในรูปแบบ “บวร” คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project และประกาศให้จังหวัดสมุทรปราการเข้าร่วมโครงการครบทุกโรงเรียน นับว่าเป็นโอกาสอันดีของเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการจะได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ต่อไป




วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ตรวจเยี่ยมสถานที่เพื่อเตรียมรับการเสด็จฯ

                        


               เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วย ดร.พุฒชาด จันทร์ดำ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ตรวจเยี่ยมสถานที่เพื่อเตรียมการรับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จ
ทรงร่วมการแข่งขันวิ่ง The West Wind Trail ณ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้ง
ทรงพระราชทานอุปกรณ์กีฬา (ลูกฟุตบอล) และสิ่งของพระราชทานแก่ผู้บริหารสถานศึกษา
และนักเรียน โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
จำนวน 15 แห่ง และโรงเรียนปายวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
 เขต 34 (เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน) ณ โรงเรียนปายวิทยาคาร อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน






วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อำลา เลขาธิการ กพฐ.


ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)
ได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระพุทธรูปประจำกระทรวง พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรี สัฎฐีอนุสรณ์ศึกษาทรรังสรค์ ศาลพระภูมิ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6
เพื่ออำลาตำแหน่ง เลขาธิการ กพฐ. เนื่องในการเกษียณอายุราชการ
และมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคคลากร สพฐ.และหน่วยงาน ใน ศธ. ร่วมมอบดอกกุหลาบ ในการทำงานวันสุดท้ายในการรับราชการเลขาธิการกพฐ.

CR..
อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา












สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                    ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุ...