"เลขาธิการ กพฐ. ปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำเยาวชน…รักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"

"เลขาธิการ กพฐ. ปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำเยาวชน…รักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"




.
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำเยาวชน…รักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” 
.
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ กล่าวว่า โครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนานักเรียน พัฒนาครูผู้รับผิดชอบฯ และผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็นแกนนำการต่อยอดขยายผลในพื้นที่ และร่วมกันถวายรายงานในส่วนของนิทรรศการแบบบูรณาการโครงการค่าย เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ
.
ทั้งนี้การขับเคลื่อนงานนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย 13 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมป่าไม้ และอุทธยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมหม่อนไหม รวมถึง องค์กรสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ทรู คอร์ปอเรชั่น และเครือเจริญโภคภัณฑ์
.
สำหรับการดำเนินโครงการฯ ประจำปี 2562 กำหนดให้มีการจัดค่ายจำนวน 31 ศูนย์ๆ ละ 4 รุ่นทั่วประเทศ มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมรุ่นละ 60 คนรวมจำนวนทั้งสิ้น 7,440 คน ครูวิทยากร/แกนนำ รุ่นละ 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,240 คน
.
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ กล่าวต่อไปว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกฝังจิตสำนึก และเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่เยาวชนอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาติ ดังนั้น การพัฒนาผู้นำ เยาวชน…รักษ์พงไพร ระดับประเทศ ปี 2562 เป็นเรื่องที่ดีที่นักเรียนจะนำไปต่อยอดขยายผลทั้งในระดับโรงเรียนและชุมชน และนอกจากนี้สิ่งที่ทาง สพฐ. อยากเห็นมากกว่านั้นคือ การนำหลักการ แนวทาง และวิธีการเหล่านี้ไปบูรณาการให้ถึงห้องเรียนให้ได้เพราะเป้าหมายสุดท้ายของโครงการคือการสร้างความยั่งยืนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างแท้จริง
ใหม่กว่า เก่ากว่า