นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.)
ว่าที ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิวีระไวทยะ
รองประธานคณะกรรมการโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
นางปัทมา วีระวานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสาวจารุนันท์ แก้วทองนาค ผู้แทนจากสำนักงาน ก.ค.ศ.
นางจารุภา สังขารมย์ ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.
และคณะกรรมการโครงการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงเรียนวัดกระเฉท และโรงเรียนวัดเกาะ จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)
ว่าที ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิวีระไวทยะ
รองประธานคณะกรรมการโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
นางปัทมา วีระวานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสาวจารุนันท์ แก้วทองนาค ผู้แทนจากสำนักงาน ก.ค.ศ.
นางจารุภา สังขารมย์ ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.
และคณะกรรมการโครงการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงเรียนวัดกระเฉท และโรงเรียนวัดเกาะ จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)
นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดกระเฉท และโรงเรียนวัดเกาะ
เพื่อดูความก้าวหน้าภายหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการมาระยะหนึ่งแล้ว และพบว่าโรงเรียนทั้ง 2 แห่งสามารถบริหารจัดการได้ดีและมีความหลากหลายทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติทางการเกษตรของเด็กนักเรียน
ที่สามรรถนำผลผลิตที่ได้ไปขายได้ทั้งเงินและได้ความรู้ให้เด็กและชุมชนประกอบอาชีพด้วย
เพื่อดูความก้าวหน้าภายหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการมาระยะหนึ่งแล้ว และพบว่าโรงเรียนทั้ง 2 แห่งสามารถบริหารจัดการได้ดีและมีความหลากหลายทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติทางการเกษตรของเด็กนักเรียน
ที่สามรรถนำผลผลิตที่ได้ไปขายได้ทั้งเงินและได้ความรู้ให้เด็กและชุมชนประกอบอาชีพด้วย
โครงการร่วมพัฒนา (Partnership School Project) มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหาร ในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อมาร่วมคิดร่วมพัฒนา และร่วมประเมินติดตามผลการจัดการศึกษา การประเมินครู คุณภาพนักเรียน ชุมชน
โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มแรกภาคเอกชนและโรงเรียนจะต้องทำแผนพัฒนาร่วมกัน ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมที่จะพัฒนานักเรียนในด้านต่าง ๆ และกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่เข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน
โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มแรกภาคเอกชนและโรงเรียนจะต้องทำแผนพัฒนาร่วมกัน ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมที่จะพัฒนานักเรียนในด้านต่าง ๆ และกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่เข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน
ขณะนี้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯมีความเข้าใจและสามารถพัฒนาไปได้มาก และเชื่อว่าโครงการฯนี้จะดำเนินการต่อไปอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้มอบนโยบายนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการฯ ประกอบกับภาคเอกชนที่ร่วม MOU สนับสนุนโครงการนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งก็จะทำให้โรงเรียนและชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น
ซึ่งโครงการได้ตั้งเป้าจะให้มีโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ให้ครบทุกจังหวัด
ขณะเดียวกัน ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการ กพฐ.
ได้มีนโยบายให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทั่วประเทศ ร่วมกับภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนการศึกษา นำร่องเขตพื้นที่ละ 5 โรงเรียน และคาดว่าภายใน 2 เดือนนี้จะทราบตัวเลขโรงเรียน และจำนวนบริษัทเอกชนที่มาร่วมสนับสนุน
ขณะเดียวกัน ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการ กพฐ.
ได้มีนโยบายให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทั่วประเทศ ร่วมกับภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนการศึกษา นำร่องเขตพื้นที่ละ 5 โรงเรียน และคาดว่าภายใน 2 เดือนนี้จะทราบตัวเลขโรงเรียน และจำนวนบริษัทเอกชนที่มาร่วมสนับสนุน
โดยในวันนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนรวมพัฒนา(Partnership School Project)
โดยมีบริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงหอการค้า จ.ระยอง เข้าร่วมประชุมด้วย
และจะนำผลการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในวันนี้เข้าหารือในที่ประชุมด้วย คาดว่าจะมีบริษัทเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนโรงเรียนในโครงการฯให้สามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
โดยมีบริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงหอการค้า จ.ระยอง เข้าร่วมประชุมด้วย
และจะนำผลการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในวันนี้เข้าหารือในที่ประชุมด้วย คาดว่าจะมีบริษัทเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนโรงเรียนในโครงการฯให้สามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
CR :