การขออนุญาตใช้คุกกี้

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ศธ. ร่วม สพฐ. แจ้งสถานศึกษาให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า


นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำหนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ขอความร่วมมือในการให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า สืบเนื่องจาก กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้นักเรียน นักศึกษา เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตามการดำเนินงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของประเทศไทย ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ สพฐ. จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แจ้งสถานศึกษาในสังกัดให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และประชาสัมพันธ์การรู้เท่าทันนวัตกรรมใหม่ของยาสูบด้านโทษและพิษภัยของบุหรี่ต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ จากเอกสารของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับการบริโภคยาสูบ เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งจากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากการบริโภคยาสูบหรือ การได้รับควันบุหรี่สูงถึง 6 ล้านคนต่อปี และคาดการณ์ไว้ว่าหากประเทศต่าง ๆ ไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจังในการป้องกันและควบคุมการบริโภคยาสูบ จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 8 ล้านคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2573 ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงจัดให้การบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกับแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559-2562 ที่ “มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่”

สพฐ. ร่วมแถลงข่าว อียู-ยูนิเซฟ ออกรายงานล่าสุด เพื่อลดอุปสรรคทางการศึกษาของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย

วันที่ 19 ธันวาคม 2562 นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วยผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย และผู้แทนองค์การสหประชาชาติ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวรายงานความท้าทายในการจัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติ “ไร้เส้นกั้นการศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีและการถอดบทเรียนจากการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย” เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติ ณ ห้องประชุม อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

เนื่องจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และสหภาพยุโรป ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดที่มีชื่อว่า “ไร้เส้นกั้นการศึกษา: แนวปฏิบัติที่ดีและการถอดบทเรียนจากการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย” เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติ โดยรายงานฉบับนี้รวบรวมกรณีศึกษาของการจัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ระนอง สมุทรสาคร ตาก และตราด ซึ่งแต่ละกรณีศึกษาชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนหลากหลายรูปแบบของการจัดการศึกษาของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่าการจัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงจากครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่การศึกษา และภาคประชาสังคม

รายงานฉบับนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งในประเทศไทยประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่เด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กไทยหรือเด็กข้ามชาติ ซึ่งกรณีศึกษาต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบของความสำเร็จ 5 ประการ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการวางแผนและการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) การมีผู้นำที่เข้มแข็งมีแรงจูงใจและมีความสามารถในการสนับสนุนเด็กข้ามชาติ 3) การใช้กลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล 4) การปรับปรุงการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และ 5) การมีส่วนร่วมของชุมชนและพ่อแม่/ผู้ปกครองของเด็กข้ามชาติ โดยปัจจุบัน มีเด็กข้ามชาติในประเทศไทยราว 150,000 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนของรัฐ อันเป็นผลมาจากกฎหมายและนโยบายที่ก้าวหน้าของประเทศไทย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542 และมติคณะรัฐมนตรีปี 2548 เกี่ยวกับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ที่กำหนดให้เด็กทุกคนได้เรียนฟรี 15 ปี ไม่ว่าจะมีสัญชาติหรือสถานะอะไร หรือแม้จะไม่มีเอกสารใด ๆ เลยก็ตาม

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังให้ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการทำงานแก่กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานการศึกษาระดับท้องถิ่น ตลอดจนโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยลดอุปสรรคและจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ พร้อมเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติยังเป็นการช่วยบ่มเพาะแรงงานข้ามชาติรุ่นใหม่ให้อ่านเขียนได้ มีทักษะ และมีการศึกษา ซึ่งจะสามารถสร้างประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กข้ามชาติ ยังถือเป็นส่วนสำคัญของการแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงการศึกษาของเด็กขาดโอกาสทั่วประเทศอีกด้วย

นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า “ไม่ว่าจะเป็นเด็กไทยหรือเด็กชาติไหนก็ตาม หากได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้ว จะได้รับโอกาสทางการศึกษาตามกฎหมาย การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้เด็กทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ด้านการศึกษา และการที่มีเด็กที่มีความแตกต่างและหลากหลายในระบบการศึกษา ถือเป็นโอกาสสำคัญที่เด็กจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร สันติ และสมานฉันท์ ทั้งยังเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา”

ทางด้าน ดร.จูเซปเป บูซีนี รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป (อียู) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การอพยพย้ายถิ่นของเด็กเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เด็กเหล่านี้ต้องย้ายถิ่นออกจากถิ่นกำเนิด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น สงครามความขัดแย้ง ความยากจน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งยังต้องเสี่ยงกับการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนั้น เด็กเหล่านี้ยังเข้าถึงการศึกษาได้อย่างจำกัด ซึ่งการศึกษาคือปัจจัยสำคัญในการปกป้องพวกเขาให้รอดพ้นจากภัยคุกคามเหล่านี้ ดังนั้น การปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเด็กข้ามชาติเป็นเรื่องที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าเด็กข้ามชาติจะอยู่ในสถานะใด เด็กเหล่านี้ต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลัง ซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาให้กับเด็กข้ามชาตินั้นจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับคืนมา ไม่เพียงแต่เด็กข้ามชาติเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ แต่ชุมชนและประเทศที่รองรับเด็กเหล่านี้ก็จะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน”

ขณะที่ นายปีเตอร์ โฟร์เบล รักษาการผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “รายงานฉบับนี้ออกมาในเวลาใกล้เคียงกับการครบรอบ 30 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการพิทักษ์สิทธิของประชากรกลุ่มข้ามชาติโดยเฉพาะเด็กและผู้หญิง ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ยูนิเซฟขอชื่นชมในความมุ่งมั่นของทุกฝ่ายที่ได้จัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติ และเราพร้อมจะแบ่งปันบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาให้กับทุกโรงเรียน เพื่อที่จะได้ไปพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เด็กทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมีพื้นฐานหรือสถานะใดก็ตาม”







วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. ประกาศรายชื่อสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี ประจำปี 2562


นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้คัดเลือกสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น ประจําปีงบประมาณ 2562 จากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)

โดยแบ่งเป็นสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น จํานวน 10 เขต ได้แก่ สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 สพม.เขต 22 (นครพนม - มุกดาหาร) สพป.ชัยภูมิ เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 2 สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.นครนายก สพม.เขต 25 (ขอนแก่น) สพป.พิษณุโลก เขต 3 และสพป.สิงห์บุรี

และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือระดับดี จํานวน 14 เขต ได้แก่ สพป.จันทบุรี เขต 2 สพป.ชุมพร เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 สพป.ระนอง สพม.เขต 36 (เชียงราย - พะเยา) สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.กําแพงเพชร เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.หนองบัวลําภู เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 1 และสพป.ชลบุรี เขต 2

ทั้งนี้ สพฐ. จะจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติให้แก่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ตั้งใจพัฒนางานลูกเสือจนเป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นขวัญกําลังใจ และให้เกียรติแก่ผู้บริหารสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข้าราชการในสังกัด ครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุน กิจการลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า ในวันประชุมผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยขอความร่วมมือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับรางวัล แต่งกายโดยเครื่องแบบลูกเสือ ในการขึ้นรับโล่เชิดชูเกียรติ ต่อไป

รองศาสตราจารย์ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ฟันธง!


“การดำเนินการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไม่ใช่การทดลอง และคนที่อยู่ในกระบวนการไม่ใช่หนูทดลอง แต่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคือ National Action Research ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ“
พร้อมทั้งกล่าวถึงการจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในมุมมองของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ในที่ประชุมกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ณ อาคารสุขประพฤติ กรุงเทพฯ ดำเนินการถอดเทปโดยสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. ได้ขออนุญาต ดร.วรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์ นักวิจัยสถาบันอาศรมศิลป์ นำเอกสารถอดเทปนี้มาเผยแพร่  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

https://www.edusandbox.com/nationalactionresearch/

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. ร่วมงานเปิดปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ปี 2563


วันที่ 13 ธันวาคม 2562 (เวลา 13.30 น.) นายธีร์ ภวังคนันท์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม เป็นผู้แทน เลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมงานการเปิดปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ปี 2563 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการเปิดปฏิบัติการฯ พร้อมด้วย นายณัฐดนัย หมั่นกิจ สำนักอำนวยการ นายกิตติวัฒน์ มานะยิ่ง และนางสาวประภาพร บุนนาค เจ้าหน้าที่ ฉก.ชน.

ภาพ / ข่าว : นายกิตติวัฒน์ มานะยิ่ง และนางสาวประภาพร บุนนาค เจ้าหน้าที่ ฉก.ชน.
















วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

รก.เลขาธิการ กพฐ. ร่วมตักบาตรสะพานบุญรับอรุณแห่งความสุข


--------------------
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 นายอำนาจ วิชยานุวัติ (รักษาการ) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รก.เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่สุโขทัย หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน ร่วมในพิธีตักบาตรสะพานบุญรับอรุณแห่งความสุข แด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป ณ เกาะกลางน้ำวัดตระพังทอง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
.
สำหรับกิจกรรมตักบาตรสะพานบุญรับอรุณแห่งความสุข ได้ถูกจัดขึ้นตามความหมายของคำว่าสุโขทัย ที่มาจากคำว่า สุขะ+อุทัย ซึ่งหมายถึง รุ่งอรุณแห่งความสุขนั่นเอง และกิจกรรมนี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เป็นประจำทุกปี และปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นกิจกรรมที่สื่อถึงความเป็นพุทธศาสนิกชนของสุโขทัยอย่างแท้จริง
.
ส่วนกิจกรรมงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 11 พฤศจิกายน 2562 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
.
ภาพ /ข่าว : ประชาสัมพันธ์ สพม.38








วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.จับมือ กสศ.ตั้งเป้าพัฒนาโรงเรียนชนบท นำร่อง 288 โรงเรียนใน 35 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค ให้ทัดเทียมเมือง หลังพบความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันเกือบ 2 ปีการศึกษา

วันที่ (29 ต.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมเรื่อง "ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ" และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teachers & School Quality Program : TSQP) โดยมีผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมกว่า 1,000 คน


อัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ.และกสศ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาขนาดกลางสังกัด สพฐ. ในชนบทที่มีเด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาสอยู่หนาแน่น ให้เป็นโรงเรียนที่สามารถพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ หรือ Whole School Approach ทั้งด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ขณะที่นักเรียนยากจนด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างเต็มศักยภาพ โดยครูจะมีความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
ที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันเกือบ 2 ปีการศึกษา
อัมพรยังระบุอีกว่า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา รวมถึงคุณภาพและประสิทธิภาพครู ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง


ด้าน นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) กล่าวว่า หัวใจสำคัญของโครงการนี้ต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารและครูผู้สอน มีความเชื่อว่าเราสามารถพัฒนาตนเองและโรงเรียนได้ แม้จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่ใช่โรงเรียนขนาดใหญ่ก็สามารถพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอกหรือต้องรอนโยบาย
การทำงานในปีแรกจะมีโรงเรียนขนาดกลางที่ผู้บริหาร และครูผู้สอนสมัครใจและตั้งใจเข้าร่วมจำนวน 288 แห่งในพื้นที่ 35 จังหวัดทุกภูมิภาค ครอบคลุมครูกว่า 5,700 คน
การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน เน้นกระบวนการสร้างให้นักเรียนเป็นคนรุ่นใหม่ทันต่อโลกศตวรรษที่ 21 โดยการทำงานจะไม่หยุดอยู่แค่ห้องเรียนห้องเดียว แต่ต้องทำทั้งโรงเรียน เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับองค์กร ด้วยการใช้พลังร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดของนักเรียน


สำหรับ กสศ.จะนำผลการวิจัยและเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของครูและสถานศึกษา จากการทำงานวิชาการร่วมกับองค์การความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) มาสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Active Learning โดยใช้การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนประสิทธิภาพสูง จากสถาบันความคิดสร้างสรรค์แห่งสหราชอาณาจักร (CCE) รวมถึงการใช้เครื่องมือส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณจากองค์การ OECD เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กสศ.ยังสนับสนุนให้โรงเรียนใช้ระบบ Q-Info ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงของเด็กในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนา ตามแนวทางผลการวิจัยเครื่องมือประเมินทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
คาดว่าเมื่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา กสศ.จะสามารถขยายพื้นที่เป้าหมายการทำงานสนับสนุนนโยบายโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลของ สพฐ.ต่อไป แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาฯ


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานอนุกรรมการโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กสศ. กล่าวตอนหนึ่งในการบรรยายพิเศษเรื่อง "ยกระดับคุณภาพโรงเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ : เปลี่ยน ครู-ห้องเรียน" ว่า
การแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแต่เพียงอุดหนุนงบประมาณยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบทให้สูงขึ้นด้วย
จากรายงานของ World Development Report 2018 : Learning to Realize Education’s Promise พบว่าหากจะให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมของประเทศไทยยกระดับขึ้น ครู โรงเรียน พ่อแม่ และผู้นำชุมชน ต้องร่วมมือกันเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เด็กที่ขาดแคลนหรือเด็กที่เรียนอ่อน ไม่ใช่มุ่งเอาใจใส่เฉพาะเด็กเก่งและขยันเรียน ซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 10-20 แต่อีกร้อยละ 80-90 จะถูกทิ้ง
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่าง สพฐ.และ กสศ.ในครั้งนี้จะทำให้เด็กอีกร้อยละ 80-90 ได้รับโอกาสในการพัฒนาและบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้เช่นกัน

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 3 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 7 รางวัล Special Awards ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (IEYI 2019) ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย"






ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2019)  ระหว่างวันที่ 22 - 26 ตุลาคม จังหวัดบันเติน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 9 ทีม รวม 17 คน จากประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งจากการตัดสินของคณะกรรมการ ปรากฏว่า นักเรียนไทยได้รับรางวัลครบทุกทีม แบ่งเป็น เหรียญทอง 3 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล และ Special Awards 7 รางวัล ดังนี้
รางวัลเหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่ ผลงาน “ไฟฉายอเนกประสงค์” โดย เด็กชายกรกฎ วงศ์ชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เด็กชายอชิรวิชญ์ ตามสมัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย
ผลงาน “กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน” โดย เด็กหญิงชนากานต์ อินทเจียด และเด็กหญิงศิรประภา กรายแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี
และผลงาน “วัสดุดูดความชื้นจากไส้ตันมันสำปะหลัง” โดย นางสาวสุภัสสรา หนูบูรณ์ และนางสาวปิยฉัตร เสียมไหม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง จ.พัทลุง
รางวัลเหรียญเงิน 6 รางวัล ได้แก่
ผลงาน “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” โดย นางสาวเธียรธีรา พุ่มพวง และนางสาวรัฎศมล น่วมนวล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จ.พิษณุโลก
ผลงาน “แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน - โฟมยางพาราคอมพาวด์” โดย นางสาวเกวลิน สุขไกว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนางสาวปิ่นศวิตา ทองสลัก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี
ผลงาน “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ” โดย นางสาวเจษธิดา สูงขาว และนางสาวประภัสสร ศรีกอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย
ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดาและ ใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้” โดย นายอภิลักษณ์ ไวกูณฐ์เวศม์ และนายชยุตพงศ์ ชัยมงคล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม
ผลงาน “ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจากใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหาดินร่วนปนทราย” โดย นางสาวอัจฉริยะกร การพิศมัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนจานวิทยาคม จ.กาฬสินธุ์
และผลงาน “ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ” โดย นายธีรภัทร โมราวงศ์ และนางสาวนาดา สมาเอ็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม จ.สมุทรปราการ
นอกจากนั้น ยังมีทีมได้รับรางวัล Special Awards 7 รางวัล ได้แก่ ผลงานกรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน,  ผลงานแผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์,  ผลงานสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา,  ผลงานนวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ,  ผลงานผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดา และใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้,  ผลงานศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจากใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหาดินร่วนปนทราย และผลงานประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2021) หรือในอีก 2 ปีข้างหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. จับมือ ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ และ ทส. ร่วมแถลงข่าวประกวดวาดภาพปลูกจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมให้เยาวชน



วันที่ 24 ตุลาคม 2562  นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย มร. โทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด และ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวเปิดโครงการประกวดวาดภาพโปสเตอร์คำขวัญ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ 2562” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว - วิภาวดีรังสิต เชิญชวนเยาวชนร่วมส่งผลงานรอบคัดเลือก หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมวิกฤติ...ชีวิตยากเข็ญ” ชิงรางวัล “อีซูซุพาน้อง ๆ ท่องญี่ปุ่น” พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และทุนการศึกษามากมาย 
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ของบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด โดยการให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศส่งเสริมนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างทักษะทางศิลปะให้กับเยาวชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย  

กลุ่มตรีเพชร โดย มร.โทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด กล่าวว่า “ตลอดเวลา 26 ปีที่ผ่านมา ของการดำเนินกิจกรรมการประกวดวาดภาพโปสเตอร์พร้อมคำขวัญ โครงการ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์” มุ่งเน้นถึงการปลูกจิตสำนึกอันดีในด้านต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการนำประเด็นที่น่าสนใจมาปรับใช้เป็นหัวข้อการประกวด เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์สำคัญ ทั้งที่เป็นเรื่องภายในประเทศไทย และระดับโลก เพื่อเปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชน อายุไม่เกิน 18 ปี ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองทั้งด้านความคิดและจิตใจ และยังเป็นแนวทางการปฏิบัติตนอันจะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไปในอนาคต ซึ่งในปีนี้อีซูซุได้เลือกใช้หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมวิกฤติ...ชีวิตยากเข็ญ” ในการแข่งขันรอบคัดเลือก จึงขอเชิญชวนน้อง ๆ เยาวชนร่วมแสดงพลังกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมของประเทศผ่านผลงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาและโอกาสไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยรางวัล “อีซูซุพาน้อง ๆ ท่องญี่ปุ่น” ที่จะเติมเต็มและจุดไฟแห่งการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ณ ประเทศญี่ปุ่น และจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปลูกจิตสำนึกที่ดีให้แก่เยาวชน จนกระจายไปสู่การสร้างพลังบวกเพื่อช่วยพลิกฟื้นสิ่งแวดล้อมที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติในขณะนี้ให้เบาบางลงได้ในอนาคต”


เยาวชนที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-966-2127-9 ติดต่อรับใบสมัครได้ที่สถานศึกษาประจำจังหวัดทุกแห่ง โชว์รูมอีซูซุทั่วประเทศ










วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. ถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ





นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 16 เหรียญทอง 12 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ประจำปี 2562 (ITMO 2019) ณ ประเทศอินเดีย"

.
วันที่ 18 ตุลาคม 2562 นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ให้การต้อนรับคณะนักเรียนไทยที่ไปร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2562 International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) รวม 24 คน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีตัวแทนจากโรงเรียนต่างๆ พร้อมสื่อมวลชนร่วมทำข่าวเป็นจำนวนมาก
.
นายอโณทัย เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นของไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2562 International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2562 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย มีนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันระดับประถมศึกษา จำนวน 2 ทีม ทีมละ 4 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่านักเรียนไทยได้รับเหรียญรางวัลทุกคน ได้แก่ 16 เหรียญทอง 12 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง รวมทั้งสิ้น 37 รางวัล 79 เหรียญ ดังนี้
.
ประเภททีม ได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล (24 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 3 รางวัล (12 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม D เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม B เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
เหรียญทองแดง 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม B เด็กชายปัญณพงศ์ กีรติอนันต์พร โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม A นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
.
ประเภทบุคคล ได้รับรางวัลรวม 23 รางวัล (23 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 8 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ / ระดับมัธยมศึกษา นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา / ระดับมัธยมศึกษา เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญทองแดง 7 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ / ระดับมัธยมศึกษา เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา
.
.
ประเภทกลุ่มบุคคล ได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล (24 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 4 รางวัล (16 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม A นายนิติพนธ์ ไตรไมตรีพิทักษ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายสรวิชญ์ เฮงสุวนิช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายเสถียร นทีทองรุ่งศักดิ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ เด็กชายคุณานนต์ คูศิริวิเชียร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม B เด็กชายภูดิศ ธนกุลไกรฤทธิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายปัณณวิชญ์ ตั้งกิจศิริโรจน์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี เด็กชายณภัทร ธานินทร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ เด็กชายศุภวิชญ์ ดอนศรีแก้ว โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ / ทีมมัธยม D เด็กชายธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ เด็กชายพัชรพล นวเลิศปัญญา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เด็กชายสรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เด็กชายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ / ทีมประถม B เด็กชายปัญณพงศ์ กีรติอนันต์พร โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เด็กหญิงธนารีย์ มณีไพโรจน์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพฯ เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ
.
.
ประเภทคะแนนรวมสูงสุด (Overall) ได้รับรางวัลรวม 2 รางวัล (8 เหรียญ) แบ่งเป็น
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมประถม A เด็กชายเมธวิน จันทร์ทอง โรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา เด็กหญิงพิมพ์นภัทร มาตรสุริย์ โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี เด็กชายเอกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ เด็กชายปิยภัทร โอปิลันธน์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ
.
เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ ทีมมัธยม C เด็กชายชยนันต์ แสนดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ นายพชร อุ่นเจริญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายภูริช ดีเป็นธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ เด็กชายธีร์ธวัช วิรุฬหะรัตน์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน กรุงเทพฯ
.
สำหรับการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น International Teenagers Mathematics Olympiad 2019 (ITMO 2019) มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 14 ประเทศ คือ ไต้หวัน เนปาล บังกลาเทศ บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รัสเซีย เวียดนาม ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และไทย มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 393 คน











วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รก.เลขาธิการ กพฐ. พร้อม รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดคู คลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


-------------------
นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วย นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดคู คลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธี รวมถึง นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เข้าร่วม ณ วัดธรรมาภิรตาราม (สะพานสูง) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร







วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

1 ใน "นโยบายรัดเข็มขัด" เพื่อนำงบประมาณไปลงที่เด็กและเยาวชน


รก.เลขาธิการ กพฐ. มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและบุคลากร สพฐ.


.
วันที่ 9 ตุลาคม 2562 นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของ สพฐ. ในโอกาสเข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังนโยบาย ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคารสพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
.
ทั้งนี้ นายอำนาจ วิชยานุวัติ ได้กล่าวมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของ สพฐ. ทั้งในเรื่องวาระงานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยทันที อาทิ การรับนักเรียน งบประมาณประจำปี 2563 การจ้างครูธุรการและนักการภารโรง การสอบคัดเลือกรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การสอบคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน การย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เป็นต้น
.
นอกจากนั้น ยังได้เน้นย้ำในเรื่องของคุณภาพ โอกาส และประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมน้อมนำพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด จิตอาสา เน้นคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งการบริหารทรัพยากรที่สามารถนำไปต่อยอดได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กนักเรียนมากที่สุดอย่างยั่งยืน






สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                    ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุ...