การขออนุญาตใช้คุกกี้

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน รุ่นที่ 21 ปี 2561

               ด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษและมีแววอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาศก้าวสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์คุรภาพต่อไป ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณศรายุท มนตรีมุข งานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย หมายเลขโทรศัพท์ 02-5647000-1436 อีเมล์ sarayut@nstda.or.th  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิ๊กที่นี่

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ

ขอความอนุเคราะห์ครู สถานศึกษา ประชาสัมพันธ์ อินโฟกราฟฟิก
เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างการรับรู้สู่สาธารณะชน ไปยังนักเรียน ในสังกัด
ขอความอนุเคราะห์ครู สถานศึกษา ประชาสัมพันธ์ อินโฟกราฟฟิก
เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างการรับรู้สู่สาธารณะชน ไปยังนักเรียน ในสังกัด


วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สพฐ. แจงผลการวิจัยยูนิเซฟ-ม.มหิดล ประเด็นเพศวิถีศึกษา




                 (วันที่ 1 มิถุนายน 2560) จากการที่สื่อออนไลน์ได้เผยแพร่ข่าวผลการวิจัยเรื่องการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาของไทย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยสำรวจข้อมูลจากนักเรียนมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา จำนวน 8,837 คน และครู 692 คน รวมทั้งสิ้น 9,529 คน ในช่วงเดือนกันยายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การสอนเพศศึกษาไม่ให้ความสำคัญเรื่องการเคารพสิทธิของผู้อื่น ส่งผลนักเรียนจำนวนมากมีทัศนคติเชิงลบ ไม่เห็นด้วยกับความเท่าเทียมกันทางเพศและสิทธิทางเพศ และยอมรับความรุนแรงในครอบครัวในบางกรณี หรือ สถานศึกษาไทยแทบทุกแห่งสอนเพศวิถีศึกษาไม่รอบด้าน เน้นสอนสรีระ พัฒนาการทางเพศ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงครูเกินครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการอบรมการสอนเพศวิถีศึกษา ทำให้มักใช้วิธีสอนแบบบรรยาย แทนการจัดกิจกรรมให้เด็กคิด วิเคราะห์และตั้งคำถามเชิงลึก เป็นต้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาในสถานศึกษาของไทยอย่างกว้างขวางนั้น

                 ล่าสุด เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายการุณ สกุลประดิษฐ์) ได้ออกมาชี้แจงถึงประเด็นที่เป็นปัญหาต่างๆ ว่า สพฐ. ได้กำหนดให้เรื่องการเคารพสิทธิของผู้อื่นอยู่ในการเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของการเคารพสิทธิของผู้อื่นต่อทัศนคติเชิงลบ ในเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศและสิทธิทางเพศ รวมทั้งการยอมรับความรุนแรงทางเพศมิได้มีผลมาจาก การขาดการเรียนรู้ในเรื่องการเคารพสิทธิของผู้อื่น แต่มีปัจจัยของวัฒนธรรม ทัศนคติ ความเชื่อ และสื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดทัศนคติเชิงลบ นอกจากนั้น สพฐ. ยังได้จัดการเรียนการสอนเพศศึกษาอย่างรอบด้านและครอบคลุม ๖ มิติในเรื่องเพศ คือ 1. พัฒนาการทางเพศ 2. พฤติกรรมทางเพศ 3. สุขภาวะทางเพศ 4. ทักษะส่วนบุคคล 5. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และ 6. สังคมและวัฒนธรรม ในวิชาสุขศึกษา ตั้งแต่ ป. 1 – ม. 6  และผ่านกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนทุกคน สุดท้ายในเรื่องของการสอนเพศวิถีศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการอบรมศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบงานเพศศึกษาและทักษะชีวิตทั่วประเทศเพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการสอนเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตอย่างถูกต้องและเหมาะสม

                  แต่ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. จะนำมาศึกษาประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อทบทวนการเรียนการสอนเพศศึกษาในสถานศึกษาไทย ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่นักเรียน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องเพศศึกษาต่อไป

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี พร้อมผู้ว่าฯ ตรวจเยี่ยมพื้นที่ รร. จากอุทกภัยและพบนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน จ.นครศรีธรรมราช

              เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี พร้อมด้วย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายประหยัด อนุศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมการฟื้นฟูโรงเรียนและพื้นที่จากปัญหาอุทกภัย พร้อมพบนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน    ณ จังหวัดนครศรีธรรมราชตามที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม  2559 – 12 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมามีพื้นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยรวม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง และกระบี่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ด้วยการพระราชทานเงินช่วยเหลือโรงเรียนและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในครั้งนี้ จำนวน 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือสถานศึกษา และครอบครัวผู้เสียชีวิต ที่ได้รับผลกระทบทั้ง 12 จังหวัด แบ่งเป็นทุนการศึกษา จำนวน 15,000,000 บาท (สิบห้าล้านบาท) ให้แก่บุตรของครอบครัวผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด 27 ครอบครัว และพระราชทานครุภัณฑ์โต๊ะ - เก้าอี้ นักเรียน และครู จำนวน 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าล้านบาท) ให้แก่โรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง พัทลุง กระบี่ นราธิวาส ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ รวมจำนวนโรงเรียนที่ได้รับการพระราชทานความช่วยเหลือ 267 โรงเรียน                 
         จังหวัดนครศรีธรรมราชถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติอุทกภัย โดยมีผลกระทบต่อพื้นที่รวม 23 อำเภอ 166 ตำบล/เทศบาล 1,461 หมู่บ้าน 160 โรงเรียน ราษฎร์ได้รับผลกระทบ 301,557 คน 108,695 ครัวเรือน ยอดผู้เสียชีวิต 8 ราย อีกทั้งถนนสาธารณะได้รับผลกระทบเสียหาย จำนวน 1,678 สาย     คอสะพาน 65 แห่ง ฝาย 19 แห่ง ท่อระบายน้ำ 12 แห่ง วัด 2 แห่ง บ้านเรือน 890 หลัง พื้นที่นาข้าวที่ประสบภัย 159,363 ไร่ เสียหาย 100,967 ไร่ อีกทั้งพื้นที่พืชไร่ที่ประสบภัย 15,889 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 12,151 ไร่ และพืชส่วนอื่น ๆ ที่ประสบภัย 1,101,359 ไร่ เสียหายกว่า 309,687 ไร่ ส่งผลให้ประชาชนต่างได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก                                                                                      
        ทั้งนี้ในด้านความช่วยเหลือได้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยอย่างร่วมมือร่วมใจกันส่งผลให้ชาวนครศรีธรรมราชสามารถฝ่าวิกฤติภัยพิบัติครั้งล่าสุดนี้มาได้ โดยสำหรับการลงพื้นที่ขององคมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจเยี่ยมการฟื้นฟูโรงเรียนและพื้นที่จากปัญหาอุทกภัยและพบนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้แก่ คณะครู นักเรียน และผู้ที่ได้รับกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ณ ครอบครัวโต๊ะหว่าง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช โรงเรียนราชประชานุเคราห์ 19 และโรงเรียนวัดจันดี พร้อมกันนี้ องคมนตรีได้พบนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทานซึ่งบิดาหรือมารดาได้เสียชีวิตจากอุทกภัยทั้ง 12 ราย ได้แก่ 1.) นายคมสัน อนรรฆจีระพงษ์ อายุ 18 ปี 2.) เด็กหญิงเกศรา ขุนบุญจันทร์ อายุ 14 ปี 3.) นายฤชกรณ์ คงมีชัย อายุ 17 ปี 4.) นางสาวอมรรัตน์ อ่อนเกตุพลอายุ 19 ปี 5.) นางสาวยุวธิดา ชูแก้วอายุ 20 ปี 6.) นายนัทธพงศ์ อุ่นอำไพ อายุ 17 ปี 7.) เด็กหญิงอลิสา โต๊ะหวาง อายุ 2 ปี 8.) เด็กชายวงศ์กร โต๊ะหวาง อายุ 6 ปี 9.) เด็กหญิงกัญญารัตน์ โต๊ะหวาง อายุ 7 ปี 10.) นางสาวสุมลฑา โต๊ะหวาง อายุ 16 ปี 11.) เด็กชายธนวัต หอมหวล อายุ 1 ปี 12.) เด็กหญิงปัทมา หอมหวล อายุ 5 ปี ที่จะได้รับพระราชทานทุนการศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าครองชีพ ค่าหอพัก และค่าอุปกรณ์การศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตด้านการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน มีหลักเกณฑ์คือ ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรี
     ขณะที่นายประหยัด  อนุศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 1 ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุด มีนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน โดยจะมีคณะกรรมการจังหวัดดูรายการใช้จ่ายเงินพร้อมแจ้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และรายงานผลการเรียนของนักเรียนหรือนักศึกษาให้แก่คณะกรรมการจังหวัดทราบทุกภาคเรียน พร้อมระบบการดูแลเกี่ยวกับการเรียนความเป็นอยู่ มีครูรับผิดชอบช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะแนว และประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต่อไป












วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ศธ.ปล่อยคาราวานโต๊ะเก้าอี้พระราชทานแก่โรงเรียนประสบอุทกภัย




            16 พฤษภาคม 2560 ณ กระทรวงศึกษาธิการ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานปล่อยคาราวานส่งโต๊ะเก้าอี้พระราชทานให้แก่สถานศึกษาที่ประสบอุทกภัย โดยมี นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมในพิธีปล่อยคาราวานฯ และในวันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ได้มีการจัดพิธีมอบทุนพระราชทานเพื่อช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประสบเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 27 คน ณ ศาลากลางจังหวัด พร้อมเพรียงกัน ทั้ง 6 จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว        
   ตามที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทานเงินช่วยเหลือเพื่อจัดหาโต๊ะและเก้าอี้พระราชทาน และเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 รวม 12 จังหวัด จำนวน 40 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายบัตรอวยพร และไดอารี่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการดูแล และบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย และทุนการศึกษาต่อเนื่อง
      นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาพระราชทานเพื่อช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินพระราชทานช่วยเหลือเพื่อจัดหาโต๊ะและเก้าอี้พระราชทาน ให้แก่สถานศึกษาที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ โปร่งใส รวดเร็ว มีการกำกับดูแล และรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานต่อสำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรีเป็นระยะ ซึ่งกิจกรรมการปล่อยคาราวานครั้งนี้เป็นการส่งมอบโต๊ะเก้าอี้พระราชทานตามกำหนดเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2560 โดยเงินพระราชทาน ในการจัดหาโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน จำนวน 25 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก กำหนดรูปแบบ  คุณลักษณะเฉพาะเพิ่มเติมจากมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่มีขายในท้องตลาด และเชิญผู้แทนผู้บริหารจากเขตพื้นที่การศึกษา ครู และนักเรียนจากจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน มาร่วมให้ข้อคิดเห็น กำหนดคุณลักษณะ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ครุภัณฑ์  ที่มั่นคง แข็งแรง ทนทาน สวยงาม และสมพระเกียรติ ที่สำคัญ บริเวณหน้าโต๊ะ และพนักเก้าอี้จะมีอักษรข้อความว่า “พระราชทาน” ซึ่งเป็นโต๊ะเก้าอี้ของนักเรียนระดับอนุบาล 1,110 ชุด ประถมศึกษา 6,327 ชุด มัธยมศึกษา 2,199 ชุด และโต๊ะเก้าอี้ ครู 1,479 ชุด  รวม 11,115 ชุด  ทั้งนี้ ให้มีการควบคุม ดูแล บำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้อยู่ในสภาพดี โดยสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายซึ่งโต๊ะและเก้าอี้พระราชทานจะทยอยจัดส่งตามงวดงานให้สถานศึกษา ทั้ง 10 จังหวัด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 นี้
        นอกจากนี้มีการพระราชทานทุนการศึกษา จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาค่าครองชีพ ค่าหอพัก และค่าอุปกรณ์การศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษา ที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่ามี 6 จังหวัด รวม 27 ทุน ประกอบด้วย ผู้ได้รับทุนการศึกษาพระราชทานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 6 ทุน ชุมพร 2 ทุน นครศรีธรรมราช 12 ทุน สงขลา 5 ทุน ตรัง 1 ทุน และจังหวัดนราธิวาส 1 ทุน ซึ่งเป็นทุนพระราชทานสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี 4 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 5 คน ระดับมัธยมศึกษา 3 คน ระดับประถมศึกษา 7 คน ระดับอนุบาล 2 คน การศึกษานอกระบบ 1 คน และยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าศึกษา 5 คน “การดูแลและช่วยเหลือนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน ทั้ง 27 ราย ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรี การดำเนินการหรือแนวทางการดำเนินงานเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และให้มีคณะกรรมการจังหวัดดูแลการใช้จ่ายเงิน พร้อมแจ้งปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน และรายงานผลการเรียนของนักเรียนหรือนักศึกษาให้คณะกรรมการจังหวัดทราบ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยมีระบบดูแลเกี่ยวกับการเรียน ความเป็นอยู่ มีครูรับผิดชอบ ช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะแนว และประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมทั้งคอยให้ความช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง” รมว.ศธ. กล่าว










วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รมช.ศธ. จัดพิธีส่งมอบนักเรียนชายแดนใต้เข้าโครงการ รร.อุปถัมภ์




วันที่ 13 พฤษภาคม 2560 เวลา 10.00 น. พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการ กพฐ. และนายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สพก.จชต.) ร่วมกับตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน และผู้บริหารโรงเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบตัวนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 286 คน เข้าเรียนในโรงเรียนอุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และโรงเรียนมีชื่อเสียงในภูมิภาค เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยจัดพิธีมอบตัว ณ โรงแรมอัญชลีน่า บางกะปิ กรุงเทพฯ 

โครงการ โรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ให้กับนักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต ในสังคมพหุวัฒนธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการ กพฐ. เปิดเผยว่า ในปีการศึกษา 2560 สพฐ. ได้รับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา 4 อำเภอ คือ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย เข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) แล้ว จำนวน 286 คน ประกอบด้วย นักเรียนจังหวัดปัตตานี จำนวน 108 คน นักเรียนจังหวัดยะลา จำนวน 25 คน นักเรียนจังหวัดนราธิวาส จำนวน 72 คน นักเรียนจังหวัดสตูล จำนวน 31 คน และนักเรียนจังหวัดสงขลา จำนวน 50 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 73 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 100 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 113 คน เป็นเพศชายจำนวน 87 คน เพศหญิง จำนวน 199 คน มีนักเรียนศาสนาพุทธ จำนวน 171 คน ศาสนาอิสลาม จำนวน 114 คน และศาสนาคริสต์ จำนวน 1 คน

ด้านนายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการ สพก.จชต. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นโรงเรียนอุปถัมภ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 54 โรง ประกอบด้วยโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 36 โรง และโรงเรียนในภูมิภาค จำนวน 18 โรง อาทิ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

"ทั้งนี้ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) จะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจาก สพฐ. เพื่อการพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาทักษะชีวิต กาารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม และเพื่อให้นักเรียนเป็นเยาวชนต้นแบบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป" นายนพพร กล่าว







วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

ประชาสัมพันธ์ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



                      ประชาสัมพันธ์ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก WIPO ทูลเกล้า ฯ ถวาย "รางวัลความเป็นเลิศด้านการสร้างสรรค์" พ.ศ. 2559 คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.ตรวจสนามสอบรับนักเรียน ปีการศึกษา 2560


        1 เมษายน 2560 ณ โรงเรียนศึกษานารี นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ติดตามการรับนักเรียนในสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2560 โดยภายหลังการตรวจเยี่ยม ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ได้รับรายงานตัวเลขการรับนักเรียนของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง 281 แห่งในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีที่นั่งสามารถรับได้ 99,812 คน จำนวนสมัคร 249,530 คน มีอัตราการแข่งขัน 1:2.5 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีที่นั่งที่สามารถรับได้ 94,959 คน จำนวนสมัคร 207,810 คน มีอัตราการแข่งขัน 1:2 ซึ่งได้กำชับให้โรงเรียน จัดสอบด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม โดย สพฐ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการรับนักเรียนเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบด้วย

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560


ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) จัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 ขึ้นในระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2560 ณ ค่ายลูกเสือปากบาง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีของลูกเสือต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี "ลูกเสือรวมพลัง ทำความดี สามัคคี เทิดทูนสถาบัน เชื่อมสัมพันธ์สู่อาเซียน"

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชุมจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก


วันที่ 24 มีนาคม 2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการการจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมี นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการ กศจ. ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผู้แทนผู้ประกอบการภาคเอกชน ผู้แทนชุมชนและผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในพื้นที่ทุกภาคส่วน รวมถึงสถานศึกษาในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,100 คน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค


(Boot Camp) ระดับภูมิภาค: เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค: Regional English Training Centre ณ ศูนย์โรงเรียนชลกันยานุกูล อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18, นางสมพร ฤทธาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18, นางสาวเฉิดเฉลา แก้วประเคน ผู้อำนวยการโรงเรียนชลกันยานุกูล, ผู้บริหารสถานศึกษา ,คณาจารย์, วิทยากรชาวต่างชาติจากบริติช เคานซิล ประเทศไทย, Master Trainers ชาวไทย และครูภาษาอังกฤษที่เข้าร่วมอบรม Boot Camp ร่วมรับฟังนโยบาย
.
(ภาพ:นายภิญโญ เพิ่มพูล ครูโรงเรียนชลกันยานุกูล, ประชาสัมพันธ์ สพม.18: ข่าว)

เลขาธิการ กพฐ. ตรวจเยี่ยมสนามสอบครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ปี 60


          (วันที่ 18 มีนาคม 2560) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายณรงค์ แพ้วพลสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหาร สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2560 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดให้ สพฐ. ช่วยกำกับและติดตามการดำเนินการคัดเลือกให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทาง สพฐ. ได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดแนวปฏิบัติการคัดเลือกให้เป็นแนวทางเดียวกัน อีกทั้งยังกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตการสอบ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการรับสมัคร ให้มีการพิมพ์ลายนิ้วมือในบัตรประจำตัวผู้สมัครและพิมพ์ลายนิ้วมืออีกครั้งในวันที่สอบ และอาจให้มีการถ่ายภาพด้วย จากนั้นจะกำหนดมาตรการด้านเทคโนโลยี ให้หน่วยรับสมัครกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของผู้สมัครในโปรแกรมผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยของ สพฐ. เพื่อตรวจสอบบุคคลที่สมัครสอบมากกว่า 1 แห่ง และให้ผู้ดำเนินการคัดเลือกเฝ้าระวังว่าบุคคลนั้นเข้าสอบข้อเขียนที่หน่วยสอบใดและมีการเข้าสอบซ้ำซ้อนหรือไม่ นอกจากนั้นยังกำชับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันทุจริตอย่างเคร่งครัด และติดตามการคัดเลือกระหว่างสอบ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจากส่วนกลางไปสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหว สังเกตสถานการณ์ต่างๆ ร่วมกับกลุ่ม cluster หากพบความเสี่ยง ปัญหาอุปสรรค ให้รายงาน สพฐ. ทันที
         “สพฐ. มีความมั่นใจว่าดำเนินการคัดเลือกครูผู้ช่วยจะเป็นไปด้วยความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อถือแก่สังคมทั้งในส่วนของ สพฐ. / สพท. และตัว ผอ.สพท. เอง หาก ผอ.สพท. ดำเนินการเรื่องนี้โดยยึดหลักความถูกต้องเป็นหลักแล้ว คาดว่าจะไม่มีเหตุใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
          สำหรับภาพรวมการสอบคัดเลือกฯครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ในปีนี้ มีตำแหน่งว่าง 4,653 อัตรา จำนวนผู้สมัครทั่วประเทศ 20,310 คน ผู้มีสิทธิ์สอบ 20,176 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.34 โดยสอบคัดเลือกใน 73 กลุ่มวิชา ยกเว้นกลุ่มวิชาภาษาตากาล็อก กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มวิชากิจกรรมบำบัด และกลุ่มวิชาเทคโนโลยี/วิศวกรรมศาสตร์ ที่ไม่มีผู้สมัครสอบ ขณะที่จังหวัดที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กศจ.นครราชสีมา จำนวน 1,181 คน กศจ.บุรีรัมย์ จำนวน 990 คน กศจ.กรุงเทพมหานคร จำนวน 967 คน กศจ.อุบลราชธานี จำนวน 966 คน และ กศจ.เชียงใหม่ จำนวน 853 คน ตามลำดับ โดยสอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ในวันที่ 18 มีนาคม จากนั้นจะสอบสัมภาษณ์ ในวันที่ 19 มีนาคม แล้วจึงประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 ต่อไป

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

รมว.ศธ. เปิดประชุมการเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ


         (วันที่ 13 มีนาคม 2560) นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมบรรยายแนวทางการบริหารงบประมาณพัฒนาตนเองของครู นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเสนอกรอบข้อเสนอโครงการหรือหลักสูตรเพื่อพัฒนาครูประจำการ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 450 คน ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร

โครงการจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนภาคบังคับสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2560

             

              13 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัดเชียงใหม่ นายสนิท แย้มเกษร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมนิเทศ ติดตาม และประเมินผลโรงเรียนต้นแบบ โครงการจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนภาคบังคับสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2560

สพฐ.จัดการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์ ห้องเรียนกีฬา ครั้งที่ 1


               13 มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี่ จังหวัดกระบี่ พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ ห้องเรียนกีฬาครั้งที่ 1 “เกมส์แห่งความสามัคคี สดุดีองค์ราชันย์ สานสัมพันธ์ห้องเรียนกีฬา”

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศธ.เดินหน้าจัดการเรียนรวม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา



     11 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมริเวิอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมสัมมนาขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการเรียนรวมให้มีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2560 โดยการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นการประชุมในระดับนโยบายก่อนการขับเคลื่อนลงสู่แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจนต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการจัดการศึกษาในรูปแบบการเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของรัฐบาล 

     รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการจนตลอดชีวิต ให้เข้าถึงโอกาส ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอภาค โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในทุกระดับ ทุกระบบ และทุกประเภทความพิการ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และได้ประกาศนโยบาย ในปี 2559 ให้เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน จัดบริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ จัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพื่อขยายโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ (Transition from school to work) เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีทีกษะชีวิต และทักษะอาชีพ

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เล็งเห็น ความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต โดยส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค โดย ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในทุกระดับ ทุกระบบ และทุกประเภทความพิการ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยจัดประชุมสัมมนาผู้รับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและศูนย์การศึกษาพิเศษขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในนโยบาย และแนวทางปฏิบัติงานก่อนที่จะนำไปดำเนินงานในทุกพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาเรียนรวมในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ นักเรียนพิการได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิต ทักษะการดำรงชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะทางวิชาการ ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individualized Education Program) ขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนพิการได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ ให้ครอบคลุมโรงเรียนที่จัดการเรียนรวม 21,250 โรงเรียน จำนวน 337,144 คน ให้ได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยมีโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม 1,228 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียน ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 สพฐ. จึงเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่เป็นศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ และพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมให้ได้มาตรฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถบริการนักเรียนพิการที่เข้าเรียนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
.
     “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนที่จัดการเรียนรวมในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กร นักสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การรวมตัวของชุมชนที่ตระหนักในความสำคัญที่จะร่วมดูแลเด็กๆ ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การประสานความร่วมมือในระหว่างองค์กรต่างๆ จึงเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ ที่จะนำพานักเรียนพิการให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามศักยภาพของแต่ละบุคคลต่อไป” รมช.ศธ.กล่าว

รมว.ศธ.รับฟังปัญหาโรงเรียน ICU ณ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนคร

         

         นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน" หรือโรงเรียน ICU (Intensive Care Unit) เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนครโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นายประเสริฐ ปัตโชติชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือร่วมกัน
          รมว.ศธ. กล่าวว่า โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนคร สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียน ICU เนื่องจากประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เช่น 1. ด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนขาดแรงจูงใจ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น มีจิตสาธารณะต่ำนักเรียนมาจากครอบครัวที่ขาดความพร้อม ขาดความเอาใจใส่ ครอบครัวที่มีปัญหา นักเรียนจบหลักสูตรการศึกษา ไม่มีทักษะอาชีพ นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน เขียนภาษาไทย 2.ด้านครู พบว่า ครูไม่ได้ดำเนินการตามรูปแบบ PLC ครูไม่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ขาดครูและบุคลากรที่เป็นเจ้าของภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม 3. ด้านหลักสูตร พบว่า หลักสูตรไม่สอดคล้องต่อบริบทชุมชนในการประกอบอาชีพ 4. ด้านเทคโนโลยี พบว่าทางโรงเรียนมีอุปกรณ์ไม่ทันสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ ขาดห้องปฏิบัติการด้านภาษา (เช่น อังกฤษ จีน เวียดนาม) ขาดห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ขาดสื่อและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ต่าง ๆ เช่น ห้องเคมี ห้องฟิสิกส์ ห้องชีววิทยา ห้องคณิตศาสตร์ (กระดานอัจฉริยะ) ห้องปฏิบัติการทางภาษา เป็นต้น
          ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างฉุกเฉินเร่งด่วนตามโครงการโรงเรียนไอซียู จึงไม่นับเป็นโรงเรียนไอซียู แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ใช่โรงเรียนไอซียูแท้ แต่ก็จะได้รับการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดสู่ผู้เรียน ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่วนด้านหลักสูตร ก็จะแก้ไขโดยการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพและมีงานทำ โดยใช้กระบวนการการเรียนการสอนตามหลักสูตรมากยิ่งขึ้นภายใต้การดำเนินการเต่างอยโมเดล 4.0 โดยการ MOU จับมือกับหน่วยงานภาคีเรือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          นอกจากนี้ รมว.ศธ. ได้กล่าวถึงภาพรวมการแก้ไขปัญหาโรงเรียนไอซียูให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพนั้นว่าจะต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งจะมีการจัดสรรทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ โดยใช้แนวทางในการพัฒนาครูที่จะต้องมีการขับเคลื่อนมาจากปัจจัยภายใน และจะต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอกด้วย ซึ่งต่อจากนี้จะมีการจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาขึ้น ที่จะทำหน้าที่ในการอบรมด้านวิชาการให้นักศึกษาครูจบใหม่โดยหลักสูตรการอบรมเพื่อการพัฒนาครู ที่ผ่านการคัดเลือกโดยสถาบันคุรุศึกษา เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง แนวทางการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแยกส่วนกับสำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สพฐ. ที่จะทำหน้าที่อบรมพัฒนาให้แก่ผู้ที่เป็นครูสังกัด สพฐ. อยู่แล้ว ด้วยการวางแนวทางปฏิรูปครูครบวงจร เชื่อมการพัฒนาครูกับวิทยฐานะ โดยวัดจากชั่วโมงการสอน ส่วนงบพัฒนาครูจะใช้เป็นระบบคูปอง 10,000 บาทต่อคนต่อปี รวมงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning Community) หรือ "ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" ให้กับครู และผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการนำคนมาอยู่รวมกัน ให้เกิดการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้กันระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
          ซึ่งขณะนี้ สามารถสรุปจำนวนโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนไอซียู ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉินประมาณ 2,252โรง และรองลงมาคือจะต้องมีการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนประมาณ 1,954 โรงและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแต่ถือว่าไม่มีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แต่ก็จะได้รับการแก้ไขปัญหาเร็วกว่าปกติ อีกประมาณ 850 โรง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการก็จะเข้ามาแก้ไขและให้ความช่วยเหลือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต่อไป
          นอกจากนี้ รมว.ศธ. ได้เดินทางไปยังหอประชุมมหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร เพื่อเป็นประธานรับฟังผลงานการสร้างเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดี ชมผลงานของชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล และการแสดงของเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดีหมู่บ้านห้วยหีบบ้านนาสีนวล อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พร้อมรับฟังการ นำเสนอผลงานของชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกลตามแผนงานการสร้างเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดี โดย รมว.ศธ. กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่ชุมชนเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ผู้คนในสังคมดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสกลนครที่สามารถใช้เป็นบทเรียนในการเรียนรู้สำหรับที่อื่น ๆ ได้
ทิพวรรณ ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

เปิดงานนิทรรศการทางวิชาการหนึ่งห้องเรียนหนึ่งโครงงาน 2559


นายพิธาน พื้นทอง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการทางวิชาการหนึ่งห้องเรียนหนึ่งโครงงาน 2559 "บูรณาการทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน" TUP. OCOP 2016. ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ

เลขา กพฐ. รุดเยี่ยมครูและนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ


          จากเหตุการณ์  เมื่อเวลาประมาณ 02.00น. วันที่ 9 มีนาคม2560 ได้เกิดอุบัติเหตุรถบัสรับจ้าง 2 ชั้นนำนักเรียนจากโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จะไปทัศนศึกษาที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เป็นนักเรียนระดับม.4 - ม.6 จำนวน 45 ราย ครู5 คน คนขับ 2 คน เมื่อถึงบริเวณโค้งหน้าศาลโทนไม่สามารถควบคุมรถได้ทำให้รถพุ่งตกลงไปในเหวข้างทางประมาณ 50 เมตร

          เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 6 ราย เสียในที่เกิดเหตุ 5 รายและเสียชีวิตที่ รพ. 1 ราย เป็น ครู 4 ราย นร. 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บจำนวน 42 ราย สาหัส 5 ราย(ครู 1 นร.4) เล็กน้อย 38 ราย

          อยู่ รพ.อภัยภูเบศ 1 ราย(ครูสาหัส) รพ.กบินทร์บุรี 16 ราย(สาหัส 4) และ รพ.นาดี เจ็บเล็กน้อย 25 ราย นั้น

          ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)  นายธีร์  ภวังคนันท์  ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.) นายสันติสุข ภูมสุทธินันท์ ผอ.กพร. ได้เดินทางมายังโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี  พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจคุณครูจิราพร วรรัตน์ ครู และนักเรียน รร.พังทุยพัฒนศึกษา ที่ประสบอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาตกเขาบริเวณศาลเจ้าพ่อโทน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี  พร้อมมอบเงินช่วยเหลือในเบื้องต้นจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข่าว : วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ pr สพม.7
ภาพ : บรรจง ตั้งคำ

สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                    ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุ...